‘เมอร์เซเดส-เบนซ์’ ร่วมรักษ์โลก นำขยะรีไซเคิลมาพัฒนาให้กลายเป็นนวัตกรรมสุดเจ๋ง!
ทั้งบริษัท สตาร์ต-อัพ และเหล่าศิลปิน กำลังผสมผสานสิ่งทอเข้ากับอัลกอริทึม (algorithms) รวมทั้งนำขยะของเสียมาพัฒนาให้กลายเป็นนวัตกรรมสุดเจ๋ง และเมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้นำบางอย่างของการสร้างสรรค์เหล่านี้ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของยานยนต์ที่ผลิตออกมา
สิ่งทอเนื้อนุ่มจากขวดพลาสติก
สิ่งที่คุณเห็น ณ ที่นี้ไม่ใช่ผืนหนัง หากแต่เป็นผ้าไมโครไฟเบอร์ Dinamica ที่มีความยั่งยืนจากบริษัท Miko สัญชาติอิตาเลียน เหนืออื่นใดผ้าไมโครไฟเบอร์ชนิดนี้ผลิตจากเส้นพลาสติกจากขวด PET และเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล และวัสดุชนิดนี้ยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนของการศึกษาและพัฒนา มีการตั้งเป้าหมายไว้ว่าในอนาคต ส่วนประกอบของรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นวัสดุที่ได้จากกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ recyclates โดยนับจากปี 2021 ผ้าไมโครไฟเบอร์ Dinamica ซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืนมากขึ้น จะถูกนำมาใช้ในยวดยานบางรุ่นของเมอร์เซเดส-เบนซ์
NEW PERSPECTIVES
วัสดุทางเลือกและเทคนิคก้าวล้ำ คือสิ่งช่วยเผยมุมมองใหม่ๆ ดังสิ่งที่เรานำมาแสดงให้เห็น ณ ที่นี้ บางส่วนได้ผ่านการทดลองและทดสอบ และบางอย่างได้ถูกนำไปใช้ที่เมอร์เซเดส-เบนซ์เป็นที่เรียบร้อยทั่วทั้งโลก แนวคิดเรื่องการใช้ทรัพยาการให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กำลังถูกทดสอบอย่างจริงจังมากกว่าที่เคย คำถามพื้นฐานที่มักจะพบ ประเภท…ระบบนิเวศน์ และระบบเศรษฐกิจ จะสอดประสานกลมกลืนไปด้วยกันมากกว่าเดิมได้อย่างไร? ทรัพยากรฟอสซิลจะถูกแทนที่ด้วยวัตถุดิบหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร? เมอร์เซเดส-เบนซ์ได้ประกาศชัดเจนถึงความมุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กร ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่เป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศ (climate-neutral) ให้ได้ภายในปี 2039 ตามกลยุทธ์องค์กรยั่งยืน – Ambition 2039 โดยปัจจุบันรถยนต์ส่วนบุคคลทุกคันที่ผลิตภายใต้แบรนด์เมอร์เซเดส-เบนซ์ มีอัตราส่วนการใช้วัสดุที่มีศักยภาพด้านการรีไซเคิล อยู่ที่ 85 เปอร์เซ็นต์ – และในแง่นี้ ทำให้ห่วงโซ่ของการสร้างคุณค่าเพิ่ม (value-added chain) กำลังกลายไปเป็นวัฏจักร (value-added cycle) มากขึ้นและมากขึ้น ภารกิจของการสืบค้นกำลังดำเนินต่อไปเพื่อค้นหาทางออกของคำถาม ขณะเดียวกับที่หลายสิ่งได้เกิดขึ้นในแวดวงสตาร์ต-อัพระดับโลก
เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วที่ Mercedes-Benz Group Research ได้เข้าร่วมเครือข่ายกับ UBQ สตาร์ต-อัพ จากเทลอาวีฟ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่ม โครงการ STARTUP AUTOBAHN ภายในมหานครที่เต็มไปด้วยความไฮเทค UBQ ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนขยะในครัวเรือนที่รีไซเคิลไม่ได้ ให้กลายเป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีฐานจากวัสดุชีวภาพ (bio-based thermoplastic) โดยได้รับสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ UBQ™ “กระบวนการของเราเข้ามาแทนที่เม็ดพลาสติกจากปิโตรเลียม (oil-based plastic resins) ด้วยวัสดุเชิงประกอบเทอร์โมพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ (climate-positive)” Tato Bigio ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ UBQ Israel อธิบาย “เจ้าวัสดุชนิดนี้เป็นเหมือนกาวชั้นเยี่ยมชนิดหนึ่ง ที่สามารถยึดวัสดุทุกอย่างได้เลย” สำหรับลูกชายวัยสี่ขวบของเขา กระบวนการทั้งหมดไม่ต่างอะไรจาก “เวทมนตร์” การเปลี่ยนของเล่นพังๆ อาหารเหลือค้างมื้อ และบรรจุภัณฑ์ใส่ของที่เปื้อนเปรอะ ให้กลายเป็นโต๊ะตัวใหม่เอี่ยมของครอบครัว แทนที่จะนำสิ่งของซึ่งไม่เป็นที่ต้องการแล้วไปฝังกลบ พวกมันจะถูกส่งไปยังโรงงานของ UBQ และจะถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการที่เริ่มด้วยการคัดโลหะและแก้วออกไปเพื่อรีไซเคิลส่วนขยะที่เหลือทั้งหมดจะถูกนำไปทำให้แห้งสนิทและตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ ทีม UBQ Materials จะคัดแยกขยะอินทรีย์ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการทำให้กลายเป็นขนาดเล็กที่สุด หลังจากนั้นจะถูกนำไปประกอบใหม่ร่วมกับขยะพลาสติกผสมเพื่อสร้างวัตถุนวัตกรรม UBQ™ ซึ่งเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และสามารถนำไปสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีความทนทานได้นับพันชนิด เช่น กระถางต้นไม้ รถเข็นชอปปิง เก้าอี้ หรือแม้กระทั่งชิ้นส่วนรถยนต์ วัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลและสามารถรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์นี้ ปัจจุบันเหล่าวิศวกรของเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี ได้นำมาทดสอบเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในการผลิตรถยนต์รุ่นต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็มีแนวโน้มที่ดีมาก
สิ่งทอที่มีชื่อว่า Dinamica จากบริษัท MIKO สัญชาติอิตาเลียน ก็ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์และขวดเพ็ต โดยนำขวดเพ็ตมาตัดเป็นเส้น จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นเม็ด และสุดท้ายจะนำไปปั่นให้เป็นเส้นใยเพื่อผลิตเป็นสิ่งทอ ซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นวัสดุหุ้มเบาะรถยนต์ เช่น วัสดุที่มีดูเหมือนหนังกลับซึ่งถูกใช้ในรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์รุ่นต่างๆ เช่น EQC 400 4MATIC*
ผลงานจากการสร้างสรรค์ของ Ying Gao ดูราวกับเป็นแฟชั่นจากอีกโลก นักออกแบบและศาสตราจารย์จากมอนทรีออลผู้นี้ ได้ผสมผสานสิ่งทอเข้ากับเทคโนโลยี และยังผลิตเครื่องแต่งกายจาก PVDF ซึ่งเป็นเทอร์โมพลาสติก ฟลูโอโรพลาสติก (thermoplastic fluoroplastic) ที่มีทั้งความทนทานเป็นพิเศษและช่วยประหยัดทรัพยากร ผลงานการออกแบบของเธอถูกตั้งโปรแกรมให้ดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น ในยามที่พบสิ่งแปลกปลอมด้วยอัลกอริทึมที่ใช้เพื่อการจดจำลายนิ้วมือ
“บางครั้ง สิ่งทอนี้จะแลดูมีน้ำหนักเบาบางเหมือนกับอากาศที่เรามองเห็นได้ และบางครั้งเสียงที่เปล่งออกจากปากก็สามารถทำให้เสื้อผ้าดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้” Ying Gao กล่าว พร้อมย้ำถึงแนวความคิดที่ว่า ผลงานของเธอจะเป็นอะไรไปไม่ได้เลยนอกจากแฟชั่นแนววิทยาศาสตร์ แต่เครื่องแต่งกายที่เปลี่ยนแปลงลักษณะได้ง่ายราวกิ้งก่าเปลี่ยนสีนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหามากมายเหลือคณานับ และความไม่แน่นอนของโลกสมัยใหม่ โดยเธอตั้งชื่อให้คอลเล็กชันล่าสุดของเธอว่า “Possible Tomorrows” ความเป็นไปได้ที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีความยั่งยืนมากขึ้น กำลังขยายขอบเขตออกไปอย่างรวดเร็ว และชัดเจนอยู่ว่า: ความสวยงามและคุณภาพจะยังคงความสำคัญอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้น
ขยะก็กลายเป็นของเก๋ได้
วัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์พลาสติกชนิดพิเศษเหล่านี้มาจากไหน อาหารเหลือจากการรับประทาน ของเล่นหักพัง และข้าวของเครื่องใช้ประจำวันอื่นๆ ที่ถูกทิ้งให้เป็นขยะ บริษัทสตาร์ต-อัพ UBQ ของอิสราเอล นำสิ่งเหล่านี้ไปสร้างสรรค์เป็นเม็ดไบโอพลาสติก UBQ™ วัตถุชนิดนี้สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้มากมาย นับตั้งแต่กระถางต้นไม้ไปจนโต๊ะ หรือแม้กระทั่งชิ้นส่วนรถยนต์
เมื่อสิ่งทอผสมผสานกับเทคโนโลยี
Ying Gao สร้างสรรค์แฟชั่นแห่งอนาคตด้วยแนวทางศิลปะ พร้อมๆ กับการใช้วัสดุอื่นๆ เธอยังใช้ PVDF เทอร์โมพลาสติกฟลูออโรพลาสติกซึ่งมีคุณลักษณะโดดเด่นด้านความทนทานสำหรับโปรเจ็กต์ “Standing Time” ของเธอ ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับอัลกอริทึม และระบบจะทำงานต่อทันทีที่พบสิ่งแปลกปลอมบางอย่าง นับว่าโปรเจ็กต์นี้ท้าทายขีดจำกัดของความเป็นไปได้อย่างมาก
เวลาที่มองหาวัสดุเพื่อการออกแบบของเมอร์เซเดส-เบนซ์
สิ่งที่คุณต้องการอะไรหรือ Ms.Gunther?
“เป้าหมายของเราคือการผสมผสานความยั่งยืนเข้ากับงานดีไซน์และมาตรฐานคุณภาพของเรา”
Belinda Gunther
นักออกแบบภายนอกของรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์
ในฐานะหัวหน้าฝ่าย Colour & Trim
“รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์รุ่นใหม่ทุกรุ่น มีการตกแต่งภายในที่สวยงามโดดเด่นมาก ซึ่งไม่เพียงในแง่ของรูปลักษณ์ที่สอดคล้องเหมาะสม เช่น รูปทรงของที่นั่งหรือตำแหน่งของการขับขี่ แต่ยังรวมถึงวัสดุที่ใช้และองค์ประกอบที่ครอบคลุมหรือมอบผิวสัมผัสด้วย เรากำลังพูดถึงพื้นผิวที่จะสร้างประสบการณ์ได้ สิ่งเหล่านี้ต้องมอบความแตกต่างทั้งในด้านความรู้สึกและรูปลักษณ์ เพื่อเราจะได้บรรลุผลในการสร้างความแตกต่าง และรูปลักษณ์ที่น่าตื่นเต้น ส่วนสำคัญในการทำงานของทีมคือ การคัดเลือกงานออกแบบเหล่านี้อย่างรอบคอบ
“การเลือกใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน คือประเด็นที่สำคัญมากๆ สำหรับเรา เรากำลังพัฒนาความเชี่ยวชาญของเราอย่างต่อเนื่อง และนับว่าโชคดีที่มีความก้าวหน้ามากมายในที่นี้ เรามองเห็นโอกาส ทั้งในด้านของเทคโนโลยีและวัสดุที่มีความแปลกใหม่ และช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เราในฐานะนักออกแบบ โดยตั้งอยู่บนคำถามพื้นฐานคือ อะไรคือโอกาสของความเป็นไปได้ ที่วัสดุเหล่านี้ได้นำเสนอกับยานยนต์ในอนาคตของเรา?
“มูลค่าความยั่งยืนที่สูง คือสิ่งท้าทายให้เราต้องคิดใหม่ในหลายๆ ด้าน เพื่อไปให้ถึงการพัฒนาที่แตกต่าง เป้าหมายอันแน่วแน่ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี คือการใช้วัสดุซึ่งเป็นส่วนผสมผสานระหว่างความยั่งยืนเข้ากับมาตรฐานงานออกแบบ และคุณภาพของเรา”
เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอจี มีเป้าหมายอย่างไรในแง่ของความยั่งยืน
หรือ Ms.Kragenbring-noor?
“เรากำลังทำทุกอย่างตามกำลังที่จะทำได้ เพื่อเชื่อมต่อยานยนต์ส่วนบุคคลเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง”
Jana Kragenbring-Noor
ผู้รับผิดชอบด้านความยั่งยืน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงานของรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์
“ความยั่งยืนเป็นประเด็นใหญ่ที่สำคัญสำหรับเราในฐานะบริษัทรถยนต์ ด้วยเหตุผลหลายประการ เรากำลังทำทุกวิถีทางเพื่อเชื่อมต่อยานยนต์ส่วนบุคคลเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม เราจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และนี่คือเหตุผลที่เรามุ่งมั่นเดินตามแนวทางของ Ambition 2039: เราตั้งเป้าหมายที่จะให้โรงงานของเมอร์เซเดส-เบนซ์ทั่วโลก มีความเป็นกลางทางคอร์บอน (CO2 neutrality) ให้สำเร็จภายในปี 2022 และภายในปี 2039 รถรุ่นใหม่ๆ ของเราจะมีความเป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศ เราให้ความสำคัญกับห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด นับตั้งแต่ห่วงโซ่อุปทานและการผลิต ไปจนถึงการใช้งานและการกำจัดยานพาหนะ เราทดสอบว่าจะนำเส้นใยธรรมชาติ และวัสดุรีไซเคิลมาใช้กับรถทั้งคันได้อย่างไรบ้าง เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากร เช่น เรามีความก้าวหน้าในการเลือกใช้พลาสติกรีไซเคิล และพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ต่อเนื่องมาหลายปี รวมทั้งมีการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลกับยานยนต์ของเรา มากกว่า 100 ชิ้นในปัจจุบัน”
“นอกจากนี้ เรายังศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ ทั้งการรีไซเคิลและการนำมาผลิตซ้ำ รวมถึงการนำระบบกักเก็บพลังงานกลับมาใช้ใหม่ และเรากำลังใจจดใจจ่อกับการเริ่มต้นนับหนึ่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ เป็นยานยนต์มีความยั่งยืนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้”
——————————————————————-
เรื่อง: ANDREA BIERLE และHENDRIK LAKEBERG
ที่มา และภาพ: MERCEDES ME MAGAZINE Issue 3/2020