TOP

เช็คด่วน!! 10 อาการป่วยของคนกลัวการเข้าสังคม!

“คุณแค่ขี้อาย…”

“ไม่เป็นไรหรอกนะ”

“ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรหรอก”

ผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคม คงได้ยินคำพูดปลอบใจเหล่านี้แทบทุกวัน

โรคกลัวการเข้าสังคมหรือ Social Anxiety เป็นอาการป่วยทางจิตที่พบบ่อยมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก และเช่นเดียวกับหลายๆโรค ที่อาจจะเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกัน ลองสำรวจตัวเองว่า คุณมี 10  อาการกลัวการเข้าสังคม! ที่เราหรือคนรอบข้างอาจกำลังเป็นโดยไม่รู้ตัว

1. ไม่อยากออกไปเที่ยวข้างนอก

โรคกลัวการเข้าสังคมนั่นคืออาการหวาดกลัวที่จะต้องพบปะกับบุคคลอื่นๆ

คุณอาจจะอยากออกไปเที่ยวกับเพื่อน เข้าสังคม แต่อาการหวาดกลัวที่ไร้เหตุผลนี้เองเป็นตัวฉุดคุณไว้

คนที่มีโรคกลัวการเข้าสังคมบ่อยครั้งจะถูกมองว่าเป็นคนขี้อาย เงียบ เก็บตัว ประหม่าง่าย และอาจจะดูไม่ค่อยเป็นมิตร แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่ตายตัวเสมอไป

2. ชอบคิดว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรกับตัวคุณอยู่เสมอ

อีกหนึ่งอาการของโรคกลัวการเข้าสังคมคือ ความกลัวว่าคุณจะถูกมองในด้านลบ หรือถูกคนอื่นตัดสินตัวเองไปในทางที่ไม่ดี คำถามที่มักจะเกิดขึ้นในหัวคือ พวกเขาจะเคารพฉันรึเปล่า? พวกเขาจะคิดว่าฉันหน้าตาแย่ไหม? พวกเขาจะยังคงเคารพฉันอยู่ไหม ถ้าหากว่าพวกเขาคิดว่าฉันหน้าตาไม่ดี? ตัวฉันเองยังคิดว่าฉันไม่เก่งเลย แล้วพวกเขาจะไม่คิดเหมือนกับฉันหรอ?

ผู้ป่วยจะทราบว่าความคิดเหล่านั้นเกิดจากโรค แต่ถึงอย่างไร ความนึกคิด ความรู้สึก และการกระทำในทางลบเหล่านั้นจะยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ

3. มีข้อสงสัยในทุกๆ สิ่งที่คุณทำ

โรคกลัวการเข้าสังคมนั่นสามารถเกิดผลกระทบได้อย่างแพร่หลายในทุกๆด้านของตัวผู้ป่วย เป็นอาการเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาหายได้ด้วยตัวเอง

การตัดสินใจทุกอย่างเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น เช่นจะเข้าห้องน้ำแต่ในหัวคิดขึ้นมาได้ว่า คนอื่นจะมองว่าคุณแปลกไหมเพราะคุณเพิ่งใช้ห้องน้ำไปเมื่อชั่วโมงที่แล้ว หรือ ไม่กล้าที่จะออกไอเดียในที่ประชุม เพราะแกรงว่าเจ้านายจะคิดว่าคุณไม่ฉลาดพอ หรือไม่มีประสิทธิภาพ ความกลัวถึงผลสะท้อนจะเกิดขึ้นเสมอในทุกๆการตัดสินใจของคุณ

4. คิดถึงทุกเรื่องที่คุณทำภายในหนึ่งวัน แทนที่จะนอนหลับ

คุณจะใช้เวลาเป็นชั่วโมงกว่าจะหลับได้ เพราะว่าในหัวของคุณเฝ้าแต่คิดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นภายในวันนั่น และบ่อยครั้งคุณจะชอบคิดว่าสิ่งที่คุณทำลงไปล้วนแล้วแต่เป็นความผิดพลาดของคุณ

และบ้างครั้งคุณก็พยายามวางแผนเตรียมตัวในหัวถึงเรื่องที่จะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น

“ทำไมฉันถึงไม่พูดแบบนี้กับวศินนะ”

“ฉันมีพริกติดฟันรึเปล่า ตอนที่คุยกับณเดชน์ ช่วงพักเที่ยง”

“ทำไมฉันถึงไม่ยกหูโทรศัพท์แล้วคุณกับญาญ่าให้รู้เรื่องไปเลยในตอนนั่น

5. คุณคอยที่จะหาข้อแก้ตัวให้กับตัวเองอยู่เสมอ

ถ้าหากว่าคุณตอบตกลงทำอะไรบ้างอย่างลงไปในตอนนั้น คุณจะรีบหาข้อแก้ตัวมากลับคำพูด และบ่ายเบี่ยงอย่างรวดเร็ว

6. คุณจะคิดถึงสถานการณ์ที่แย่ที่สุดก่อนเสมอ

มันตราของชีวิตคุณคือ “ฉันไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น รู้แต่ว่าเรื่องร้ายจะเกิดอย่างแน่นอน”

7. กลัว กลัว กลัว แล้วก็กลัว

คุณมองโลกเป็นน้ำครึ่งแก้ว และความกลัวตามหลอกหลอนคุณไปในทุกความคิด

ความกลัวที่ใหญ่ที่สุดของคุณ เช่น

กลัวถูกแนะนำตัวให้รู้จักกับคนอื่นๆ

กลัวการที่ถูกแกล้งและเผชิญกับคำวิจารณ์

กลัวที่จะถูกมองเป็นจุดสนใจ

กลัวการถูกเฝ้ามอง

กลัวการพูดในที่สาธารณะ รวมไปถึงการพรีเซ็นงาน หรือเสนองานหน้าชั้นเรียน

กลัวการพบปะกับบุคคลสำคัญ หรือบุคคลที่สูงกว่า

รู้สึกกังวล และไม่ปลอดภัยเมื่ออยู่ในสถานที่พบปะผู้คนมากมาย

8. คุณทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

ถ้าหากว่าคุณทำอะไรสักอย่างได้เพื่อที่จะหนีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ คุณก็จะยอมทำ ถึงแม้ว่าคุณจะต้องทำงานหนักมากขึ้นคุณก็ยอม คุณเลือกที่จะเดินขึ้นบันใดแทนที่จะขึ้นลิฟต์เพียงเพราะว่ามีคนอื่นยืนรออยู่หน้าลิฟต์ คุณเลือกที่จะยังไม่ทานข้าวกลางวัน เพื่อเลี่ยงการสนทนาพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานในห้องครัว เป็นต้น

9. คุณกลัวที่จะถามคำถาม

คุณหลงทางในต่างประเทศได้แบบชิลๆ แต่รู้สึกอึดอัดที่จะถามทางคนแปลกหน้า หรือคุณอาจจะมาทำงานสาย เพราะคุณใช้เส้นทางใหม่และงง แต่ก็เลือกที่จะไม่ถามใคร

คุณกังวลมากเกินไปว่าคนอื่นจะมองคุณอย่างไร คุณเลยเลือกที่จะไม่ถามคำถาม

10. คุณคิดว่านี้คือชีวิตของคุณ

หลายคนที่ประสบปัญหากับโรคกลัวการเข้าสังคม บ้างครั้งพวกเขาเลือกที่จะไม่รับการรักษา เพราะคิดว่าตนเองสามารถควบคุมอาการเหล่านั่นได้ด้วยตัวเอง หรือเขาอาจจะคิดว่า “มันไม่ได้เลวร้ายอะไรมากนัก” หรือบ้างครั้งพวกเขาก็เพียงคิดว่านี้คือตัวเขาเองในแบบที่เป็น และจะไม่มีทางเปลี่ยน

แต่มีการรักษาโรคนี้อยู่มากมาก ทั้งการพบกับที่ปรึกษาทางการแพทย์ หรือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม รวมทั้งยังมียารักษาบำบัดบรรเทาอาการอีกด้วย

แน่นอนว่า เป็นเรื่องยากในตอนแรกที่จะยอมรับ แต่นี้อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของคุณก็ได้นะ